มดตัดใบไม้ (Leaf-cutter Ant)

Untitled-1
++++++++++++++++++++

มดตัดใบไม้ (Leaf-cutter Ant)

++++++++++++++++++++

มดตัดใบไม้ (Leaf-cutter Ant)

เรื่องราวที่น่าตื่นตาตื่นใจของมด Leafcutter
มดตัวเล็กๆ เรี่ยวแรงแข็งขยันยิ่งนัก
เรื่องราวของมดที่ “ปลูกอาหาร” ไว้กินเอง

มดน้อยน้อย เจ้าช่างขยัน
ด้วยใจมุ่งมั่น เจ้าช่างหรรษา
ทำงานหน้าที่ ตลอดเวลา
ขยันหนักหนา เจ้าตัวน้อย

ถ้าหากลองเปรียบเทียบกับครอบครัวของพวกเราแล้ว พบว่าครอบครัวเรา ซึ่งอาจจะมีสมาชิกอยู่ 5 – 6 คน ก็ถือว่ามีสมาชิกมากแล้ว แต่ในครอบครัวของมดนั้น มีเป็นจำนวนมาก บางครั้งพวกมันหลายล้านตัวอาศัย อยู่ด้วยกันอย่างเป็นปกติสุข

ความมหัศจรรย์ของมดไม่ได้จบเพียงแค่นี้ เพราะในความจริงที่พวกมดอยู่กันตามปกติ ไม่มีปัญหาต่อกัน ไม่ยุ่งเหยิง ไม่วุ่นวาย หรือทำการฝ่าฝืนคำสั่ง พวกมันอาศัยอยู่ด้วยกันอย่างมีระเบียบแบบแผนอย่างมาก ทุกตัวจะให้การยอมรับกฎเกณฑ์ของสังคมมดเป็นอย่างดี

แต่มีมดชนิดหนึ่งสามารถสร้างอาหารกินเองได้ สามารถรู้การใช้งานเกี่ยวกับเทคโนโลยีภาคการเกษตร ได้ มานับ 50 ล้านปีทีเดียว

เขาละ ชื่อของเขา มดตัดใบไม้

มดตัดใบไม้ (leaf-cutter ants) นับเป็นความมหัศจรรย์มากมาย ที่มดพวกนี้ได้สร้างแหล่งอาหารเลี้ยงตัวเอง ด้วยการดำรงชีวิตด้วยการตัดใบไม้ไปเลี้ยงรา ในรังของมัน แล้วก็นำเชื้อราที่ได้ไปเป็นอาหารของตัวอ่อน และตัวของมดเอง จึงถือว่าเป็นสัตว์ชนิดแรกของโลกที่รู้จักเทคนิคการทำฟาร์ม

งานที่ถือว่าเป็นหน้าที่หลักของมดงาน ก็คือแต่ละวัน ๆ จะต้องออกไปเที่ยวตัดใบไม้แล้วขนมาที่รัง ….

มดเหล่านี้ไม่ได้ใบไม้เหล่านี้โดยตรง แต่มันเอาเศษใบไม้สดเหล่านี้ไปเก็บไว้ในรังของพวกมัน โดยที่เศษใบไม้จะถูกเคี้ยวเป็นชิ้นละเอียด แล้วผสมกับมูลมดเพื่อเป็นเชื้อสำหรับเพาะรา foraged ซึ่งเป็นเชื้อราชนิดพิเศษที่ไม่พบที่อื่นใดนอกจากในรังมดชนิดนี้เท่านั้น ราพิเศษนี้แหละที่เป็นอาหารของมดอีกที

นอกจากนี้เชื้อรา foraged 

สามารถหลั่งยาปฏิชีวนะที่ชื่อว่า Actinobacteria (สกุล Pseudonocardia ) ซึ่งเป็นชีวิตของจุลินทรีย์ mutualistic ในต่อม metapleural ของมดโดย Actinobacteria ที่มดชนิดนี้สร้างขึ้นมาในโลก ใช้ยาปฏิชีวนะ ในโลกปัจจุบันนี้

มดตัดใบไม้ จะมีกราม (mandibles) และถ้ากรามของมดพวกนี้ลดความคมลง ก็เปลี่ยนหน้าที่เป็นขนใบไม้

มดงาน จะทำหน้าที่ตัดใบไม้จะกัดใบไม้ด้วยกราม (mandibles) ของมัน คล้ายๆ กับเราตัดผ้าด้วยกรรไกร ซึ่งแน่นอนว่าในที่สุดความคมมันก็จะลดลงไปเรื่อยๆ ถ้าเป็นเราก็คือเปลี่ยนกรรไกรใหม่ แต่มดมันถอดกรามไม่ได้ อีกอย่างไม่มีอะไหล่เปลี่ยนด้วย ทีมวิจัยที่นำโดย Robert Schofield แห่ง University of Oregon ได้ค้นพบว่า เมื่อฟันของมดงานพวกนี้ทื่อเกินกว่าจะตัดใบได้อย่างมีประสิทธิภาพ มดงานจะสลับไปทำหน้าที่อื่นๆ เช่น ขนใบไม้กลับรัง ปล่อยให้มดงานตัวอื่นที่กรามยังใหม่อยู่เข้ามารับหน้าที่แทน

เรื่องของมดชนิดนี้ ทำให้สามารถศึกษาต่อไปอีกว่า เราจะหาทางป้องกันการเสื่อมสภาพของวัสดุที่มีขนาดเล็กๆ ได้อย่างไร ขนาดว่าวิวัฒนาการนับล้านๆ ปีได้ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับกรามของมดแบบสุดๆ แล้ว (กรามของมดมีส่วนประกอบของสังกะสีอยู่ด้วย) มดยังหลีกเลี่ยงปัญหานี้ไม่พ้น ทางข้างหน้าของวิทยาการเทคโนโลยีวัสดุคงไม่มีคำว่าง่าย….

เอ็ดเวิร์ด วิลสัน เป็นคนค้นพบว่ามดนักตัดใบไมั

เอ็ดเวิร์ด วิลสัน เป็นคนค้นพบว่ามดนักตัดใบไม้ รังที่เขาเก็บมาเลี้ยงไว้ในห้องแลบทำงานเหมือนกับเป็นโรงงาน มดแต่ละตัวแบ่งหน้าที่กันทำอย่างลงตัว ไม่มีการก้าวก่ายกัน

1. มดงานที่ออกไปหาใบไม้กลับมาที่รัง มันวางของที่ได้มาลงบนพื้น

2. มดงานตัวเล็กกว่าเก็บชิ้นใบไม้นั้นไปตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ

3. มดอีกพวกรับใบไม้ชิ้นเล็กพวกนั้นมานวดบดจนเป็นก้อนใบไม้ขนาดจิ๋ว เสร็จแล้วยกไปกองรวมกันให้ราขึ้นฟู ดูเป็นฟองน้ำ

4. มดขนาดเล็กลงไปอีกจะดูว่า “ก้อนรา” บริเวณไหนอัดแน่นกันเกินไป มันจะคอยจัดวางยักย้ายให้อยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสม

5. มดอีกกลุ่มจะนำราที่ได้ที่แล้ว มาบรรจุหีบห่อให้เป็นก้อน ทำความสะอาด แล้วส่งป้อนเพื่อนร่วมรัง

มดงานเหล่านี้ จะมีราชินีมด ซึ่งจะเป็นผู้ควบคุมดูแล ไม่ให้จำนวนประชากรมากเกินไปตามปริมาณอาหารที่มีอยู่ โดยไม่ออกไข่มาเป็นมดทหารมากเกินไป ไม่เช่นนั้นพวกมันจะกินอาหารจนมดงานหาอาหารให้ไม่ทัน จนระบบรวน และจะเลยเถิดไปถึงขนาดเป็นหายนะของรังทั้งหมดก็ได้

ราชินีมดจึงไม่มีสิทธิ์คำนวณพลาด หรือถ้ามีโอกาสพลาดก็น้อยมาก เพราะทุกอย่างในรังถูกขับเคลื่อนด้วยระบบที่มีเสถียรภาพสุดยอด มดแต่ละตัวไม่มีทางเบี้ยวหรือนัดหยุดงานได้เลย หากมีมดสักตัวเกิดเบี้ยวงานขึ้นมา สายพานโรงงานของพวกมันจะติดขัด ทำให้เกิดสถานการณ์ “กดดัน” ขึ้นภายในรังได้

ระบบอันสมบูรณ์ที่ว่านี้จึงดูเหมือนระบบการทำงานของร่างกายเดียวกัน มากกว่าจะเป็น “สังคม” ตามความคิดแบบมนุษย์ เพราะในสังคมของมนุษย์ที่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนนั้น คนแต่ละคนยังคงเอกลักษณ์และความสนใจส่วนตัวที่แตกต่างกันไป

แต่…มดไม่เคยแสดงความสนใจส่วนตัวออกมาให้ใครเห็นเลย ทุกตัวทำงานตามหน้าที่ไปในทิศทางเดียวกันเป็น

“ขบวนแถวของชีวิตซึ่งกำลังดำเนินอย่างสง่าผ่าเผยและภาคภูมิ”

หนูพุก “Bandicota indica” เป็นศรัตรูข้าวจริงหรือ

Untitled-1


เรื่องเก่าอีกเรื่องครับ ขอนำเสนอเล่าสู่พี่น้องฟัง ก่อนที่เรื่องมันจะหล่าหรือช้าเกินไป และผมก็เล่าจากที่เห็นจริงๆ ครับ

ในช่วงที่หยุดงานสองเดือนนั้น ผมมีโอกาสได้เห็น วิถีชีวิตช่วงเวลาหนึ่งของหนูพุก “Bandicota indica” หนูพุกใหญ่

ช่วงนั้นผมเดินดูข้าวในนาเช้าเย็นเกือบทุกวัน ไม่ได้ขยันครับ ไม่มีอะไรทำก็เลยเดินเล่นและผมก็ไปเจอโพนหนูพุก
ทำให้ผมอยากรู้จักชีวิตของหนูพุก และผมก็ได้เห็นร่องรอยการดำรงชีวิตของพวกเขาในช่วงเวลาหนึ่ง

โพนหนูพุก โพนที่หนูพุกมาขุดรูอาศัย

ในหลายๆ บทความที่ผมได้เห็น ไม่ว่าจะเป็นในหนังสือ ทีวี หนังสือพิมพ์ บทความ แผ่นพับ อินเตอร์เน็ต ฯลฯ
เกือบทุกคอลัมน์ของไทยจะมีความเห็นในแนวทางเดียวกันคือ หนูพุกเป็นศรัตรูที่สำคัญของข้าวและเป็นตัวนำพาเชื้อโรค
แปลความหมายว่า ถ้าพบเห็นหนูพุกก็ให้กำจัดเสีย

เอ้ !!!! มันจริงหรือ ผมชักสงสัยขึ้นมา จากเมื่อก่อนเคยเชื่อตามนั้น

ผมเดินดูนาข้าวและร่องรอยการดำรงชีวิตของหนูพุก พบเปลือกหอย ปู ปลา อยู่แทบทุกที่ มีรอยที่หนูแทะกินข้าวแค่จุดสองจุด
ทุกคันนาผมเดินดูหมดว่าจะพบรวงหนูสวยๆ ให้ดู อาจจะมีใครสงสัย “ข้าวอยู่ในนาคงไม่มีหนูตัวไหนฉลาดหรือขยันพอ
ที่จะขนข้าวมาแทะบนคันนาหรอก” ในนาข้าวผมก็เดินเหยียบและฝ่าไปเกือบหมด ผมเดินเก็บข้าวปนหรือพวกลิเกทั้งหลาย
เดินฝ่าต้นข้าวไป ตาก็มองพื้นดินใต้ต้นข้าวว่ามีรอยหนูกินข้าวอยู่หรือไม่ ก็ไม่ค่อยมีนะครับ ถ้ามีก็มีเล็กๆ น้อยๆ ไม่พอที่พูดได้ว่า
เป็นการทำลาย “มันก็ขนไปให้ลูกมันกินในรังสิ” หนูเป็นสัวตว์เลี้ยงลูกด้วยนมครับ ลูกที่ยังเล็กมันจะกินนมแม่ ตัวที่โตขึ้นมา
พอวิ่งได้ผมว่ามันต้องออกมาหากินเองครับ คงไม่รอแม่เอาข้าวมาป้อนถึงในรัง เด็กๆ ผมเคย ไฮ่หนู และ ก่นหนู เท่าที่จำได้
ไม่ค่อยมีเปลือกข้าวในรูหนู รูหนูจะสะอาดครับ ถ้ารกๆ จะไม่ใช่รูหนูแน่นอน มักจะเป็นรูงู ในรูหนูจะมีแต่ฟางที่เขาขนเข้าไปทำรัง
เอาเป็นว่าถ้ามีข้าวก็คงไม่เกินเต็มถ้วยตราไก่

นานี้ที่มีหนู เป็นนาติดบ้าน ผมจึงมีเวลาเช้าเย็นเดินเล่นในนา น้องปักบ่วงตรงที่หนูข้ามคันนา

รวงหนูหรือทางวิ่งของหนูยาวไปตามคันนานู้นละครับ เป็นฮูอาดหลาด ถึงสระบุรีก็จะเลี้ยวขวาดังรูป

รวงของหนูพึ่งใหม่ๆ เมื่อคืนนี้ ปกติก็จะสวยเป็นธรรมชาติอยู่ใต้ต้นหญ้า ผมแหวกหญ้าออกเพื่อถ่ายรูป จึงดูผิดแปลกไป

โพนรูหนูยามค่ำคืน ปรกติมีหญ้าคลุมอยู่ด้านบนบางๆ พอถ่ายรูปแล้วเห็นไม่ชัด ผมจึงดึงหญ้าออก ดูเป็นโพนโหลนๆ ผิดธรรมชาติ

อาหารที่หนูโปรดก็คือ ปู และ หอย ครับ เขาชอบกินขาปู ปูตัวบนยังดิ้นอยู่ ข้าวก็กินบ้างเล็กน้อย

ห้องครัวของหนู มีหอยต่างๆ และก็ปลา เจอปลาไม่ได้ลากเข้าป่าทันที ทิ้งไว้แค่ร่องรอย ดังปรากฏในภาพ

รูหนูตามคันนา มีทุกคันนา เยอะจริงๆ

รูหนูแปวหนูบนคันนา ใหญ่ๆ สวยๆ แปวหนูจะสวยมากครับ ปากรูเกลี้ยงไม่มีหญ้าไม่มีขวย
ถึงมันจะขุดเจาะคันนา หน้าฝนอีกทีมันก็ปิดสนิทเหมือนเดิม ถ้าน้ำรั่วก็แค่จอบสับๆ เหยียบๆ ก็โอเคแล้วครับ

พ่อ เจ้าของนาเองก็ไม่เห็นท่านจะบ่นว่าอะไร ไม่บ่นว่าหนูเยอะกินข้าวหมด ข้าวได้หน่อยเดียว ฯลฯ
ได้ยินแต่พูดว่า “มันไม่ทำให้เราจนลงไปกว่าเดิมหรอก”

รอยหนูปีนข้ามคันนา มีคราบดิน หมอก ติดที่ใบหญ้าที่มันเหยียบไป สำหรับผมดูยังไงผมก็ว่าน่ารักในความพยายามเพื่อการอยู่รอด

รอยเท้าหนูใหม่ๆ ก่อนสว่าง ตามข้างคันนาที่น้ำเพิ่งแห้ง หนูมาหาปูปลาข่อนมั้งครับ

แทนคำอธิบายว่า หนูเยอะจริงๆ ครับ “ฮอยมุ่นอุ้ยปุ๊ย”

เมื่อมีหนู เรามนุษย์ก็จะดักจับหนู ด้วยเหตุผลที่ถูกต้องที่สุดของแต่ละคน และคิดค้นเครื่องมือดักจับหนูแบบต่างๆ

มนุษย์ส่วนใหญ่มักจะไม่รู้สึกรู้สาอะไรกับชีวิตของหนู ซ้ำบางคนก็เห็นหนูเป็นของเล่น
ได้มาแล้วก็ยั่วให้หนูโมโห ส่วนผมได้ทุกอย่าง ดูก็ได้ จับก็ได้ กินก็ได้

หรือไม่เราก็จับมาเป็นอาหารซะเลย
เนื้อหนูพุกหน้าเกี่ยวข้าว มัน ทำอะไรก็อร่อย ถ้าใส่เครื่องเทศดับกลิ่นและรสจัด

หนูพุกตัวนี้ใหญ่มาก หนักประมาณครึ่งโล เด็กๆ ไล่ตีตอนเกี่ยวข้าวนาเพื่อนบ้าน

ถ้าสรุปตามที่ผมเห็น

ตราบใดที่ในพื้นที่นั้นมีสิ่งที่เป็นอาหารหนูพุกอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ และมีหลายอย่างให้เลือก เขาก็จะเลือกกิน
ในสิ่งที่เขาชอบที่สุดก่อน ถ้ามีข้าว กุ้ง หอย ปู ปลา ให้เลือก หนูก็ไม่ต่างจากคนหรอกครับ เขาจะต้องเลือกกิน กุ้ง หอย ปู ปลา
ก่อน ข้าวเปรียบเสมือนของตายที่จะกินเมื่อไหร่ก็ได้ ก็มีออกเต็มนาอย่างนั้น บางคนอาจจะบอกว่าพูดเหมือนรู้ เหมือนเคยเป็นหนู
เปล่าครับผมว่าไปตามที่เห็นและรูปที่นำมาอ้างอิงนั่นเอง เช่นเดียวกัน ถ้าท่านเป็นคนอีสาน คนทั่วทั้งโลกใบนี้ ต่างก็รู้ก็เห็นก็เชื่อ
หรือได้ยินได้ฟังมา หรือคิดเอาเองว่า อาหารหลักของคนอีสานคือ “ข้าวเหนียวส้มตำ” เราก็จะตอบว่า “อือ…ครับ” และถ้าอาหาร
มื้อนั้นมี ข้าวเหนียว ส้มตำ และลาบงัวให้เลือกซักอย่าง ท่านจะเลือกอะไร “ผมเป็นคนอีสาน ผมเลือกลาบงัว” ถ้าอาหารแต่ละมื้อมี
ข้าวเหนียว ส้มตำ ลาบงัว ให้เลือกละ “ผมก็จะเลือกกินลาบงัวทุกมื้อครับ” อ้าวไหนบอกว่าอาหารหลักของคนอีสานคือ ข้าวเหนียว
ส้มตำไฉนเป็นลาบงัว “คุณคิดของคุณไปเอง โดยไม่เคยถามผมสักคำ” ผมจะกินข้าวเหนียวส้มตำ เป็นทางเลือกสุดท้าย
แต่ชีวิตคนอีสานมักไม่ค่อยมีทางเลือก จึงจำเป็นต้องเลือกทางเลือกสุดท้ายคือ ส้มตำ เสมอมา และทำให้คนที่ไม่
รู้จักเราจริงมองเราผิดไป ผมว่าหนูก็เป็นเช่นนั้น ไม่มีสิ่งที่เขาชอบให้เลือกเขาจึงต้องกินข้าว

นาแปลงนี้เกี่ยวทีหลังคนอื่น เมื่อนาอื่นเกี่ยวกันหมดหนูพุกจึงหอบลูกจูงหลานแห่กันมาที่นี่ มีรูหนู รวงหนู อยู่แทบทุก
คันนา มีรอยหนูวิ่งในนาเกือบทุกที่ ผมว่าน่าจะเป็นหลายร้อยตัว ภาพที่นำมาอ้างอิงเป็นแค่ส่วนหนึ่งของทั้งหมด

ส่วนที่บอกว่าหนูพุกเป็นศรัตรูข้าวตัวฉกาจ ผมว่าสาเหตุน่าจะมาจาก ในเมื่อเกษตรกรชาวไร่ชาวนาไปทำลายระบบ
นิเวศจนเสียหาย เช่น การใช้ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าหอยเชอร์รี่ ยาฆ่าปู ปุ๋ย ยากำจัดหนอนเพลี้ย ฮอร์โมนต่างๆ เพื่อให้ได้ผลผลิตเต็มที่
ฉะนั้นในนาแห่งนั้นก็จะไม่มีหอย ปู ปลา แม้แต่ตัวเดียว แต่หนูเขายังไม่ตายครับ เขาจึงต้องใช้ชีวิตดำรงเผ่าพันธุ์ของเขาต่อไป ในเมื่อ
ในพื้นที่นั้นไม่มีอาหารที่เขาชอบให้กิน เขาจำเป็นต้องกินข้าวที่เป็นทางเลือกสุดท้าย กินเผือก มัน ข้าวโพด ฯลฯ เขาไม่รู้จัก
หรอกครับว่าพืชพรรณเหล่านั้นเป็นของใคร ถ้าอีสานบ้านเราก็จะพูดว่า “หากินไปตามซือ หรือ หากินไปตามซาด” เช่นดังพี่ๆ
บ้านมหาพูดๆ กันมา หนูเขาก็หากินกันไปตามธรรมชาติของเขา แต่มนุษย์หรือเกษตรกรกับมองเขาผิดตีความหมายของคำว่า
หนูผิดไป หาว่าเขาเป็นศัตรูเป็นตัวทำลายพืชพรรณการเกษตร ปล่อยไว้ไม่ได้ต้องตามกำจัดให้สิ้น ซึ่งก่อนหน้านั้นที่นาตรงนั้น
อาจจะเป็นป่าเป็นบ้านของหนูมาก่อนก็ได้ แต่พอเรามนุษย์เข้ามาครอบครอง หนูจากสัตว์โลกตัวหนึ่งจึงมีชื่อใหม่ว่า “ศรัตรู”

ที่นาของพ่อใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว ยาอื่นๆ ไม่ใช้ จึงมี หอย ปู ปลา อยู่อุดมสมบูรณ์ และคันนาค่อนข้างรก หนูจึงชอบ
มาอาศัย บางคนอาจจะบอกว่า “ลองปล่อยไว้นานๆ ดูซิ ถ้าคุณคิดว่าหนูมันไม่กินข้าว” เอ๋า ข้าวสุกเหลืองแล้วเราก็ต้องเก็บเกี่ยว
ขนขึ้นยุ้ง เข้าโรงสี หนูมันจะกินทั้งปีได้อย่างไร หรือช่วงที่ข้าวสุก สิบห้าถึงยี่สิบวัน ปล่อยให้หนูกินข้าวเต็มที่ผมว่าก็กินได้ไม่เกิน
กระสอบปุ๋ยครับหนูไม่เก็บสะสมอาหารเป็นปริมาณมากเหมือนมด อิ่มแล้วก็เลิก การที่มนุษย์เราตัดไม้ทำลายป่า สร้างบ้านกีดขวาง
ทางน้ำทำให้น้ำท่วมฝนแล้งนี่ซิ ทำให้พืชผลเสียหายอย่างมหาศาล

“แต่ก็ใครจะโทษตัวเองละ” บ้าซิ จริงไหม

หนูจึงกลายเป็นแพะรับบาปไปเต็มๆ

ก็จะมีคนแย้งอีก “ถ้าเป็นนาไร่ นาสวน สวนถั่ว แตง ข้าวโพด ไม่มีหอยปูปลา หนูก็ต้องกินพืชผักอยู่ดี” ก็ให้คิดใน
แง่ดีไว้ครับ คิดเสียว่าเราไปบุกรุกถิ่นหากินอยู่อาศัยเขาก่อน “ก็ใช่สิคนนาลุ่มก็พูดได้” ครับสำหรับบางท่านสำหรับหลายๆ คน
หนูก็อาจจะไม่ดีจริงก็ไม่ว่ากันครับ

ในกระทู้นี้ผมพยายามจะนำเสนอกับพี่น้องว่า ถ้ามีพืชผักหรือสัตว์ ที่เป็นอาหารของหนูพุกอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์
ตามที่ผมเฝ้าดู ในช่วงเวลาสั้นๆ นั้น หนูจะเลือกกินสัตว์ ซึ่งหมายถึง หอย ปู ปลา มากกว่าที่จะกินข้าวครับ

กับที่หลายท่านให้นิยามว่า หนูเป็นศรัตรูตัวฉกาจของข้าว ส่วนตัวผมแล้ว จากที่เห็นในวันนั้น ผมก็แย้งว่ามันไม่จริง
เราไปทำลายระบบนิเวศไปทำลายแหล่งอาหารของเขาก่อน เขาไม่มีหอย ปู ปลา กิน เขาถึงมากัดกินต้นข้าว เมล็ดข้าวของเรา

หนูชอบกินข้าวโพด เผือก มัน ถั่วลิสง รากต้นไม้ที่พึ่งปลูก ครับก็ต้องยอมรับ ช่วงเวลานั้นหรือบริเวณนั้น ไม่มีหอย
ปูปลาหรือข้าว หนูก็จำเป็นต้องกินพืชผักพวกนั้นเพื่อความอยู่รอด ซึ่งก่อนตรงนั้นจะเป็นไร่สวน เขาก็ขุดหารากหญ้ารากไม้กินมาก่อน

“ดูคุณจะรู้จักและเข้าข้างหนูจังเลยนะ” ครับเป็นครั้งแรกที่ผมพอรู้จักหนู จากเมื่อก่อนได้ยินแต่จากที่คนอื่น
เล่าต่อกันมา ว่าหนูไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้ ผมก็ว่าไม่ดีไปกับเขา แต่พอมาเห็นจริงๆ หนูกับน่ารักน่าชังมากกว่าน่าเกลียด

เรามามองหนูพุกว่าเป็นสัตว์ร่วมโลกที่ไม่ใช่ศัตรูกันดีไหมครับ เปลี่ยนจากความเกลียดชังเป็นมิตร หรือไม่รักไม่เกลียด เฉยๆ

แต่ถ้าท่านยังยืนยันว่าหนูเป็นศรัตรูเป็นตัวทำลายพืช นำพาเชื้อโรค ที่อินเดียชาวฮินดูเขากลับนำอาหารไปเลี้ยงหนู
มนุษย์เหมือนกันทำไมเห็นต่างกันขนาดนี้ แล้วใครละที่คิดถูก

ถ้าเราหวังเอาแต่ได้ทุกอย่างในโลกนี้ก็จะเป็นศรัตรูเราหมด ทั้งที่ความจริงอาจจะไม่เป็นเช่นนั้น เช่นหนูพุกพวกนี้
ที่ถูกตราหน้าว่าเป็นศัตรู น้ำเอยก็ไม่ดีท่วมบ้านเรือน แล้งเอยทำให้อดอยาก สารพัดแต่จะไม่ดี

สำหรับพี่น้องคนอีสานผมเชื่อว่าคงไม่มีใครเคยพบเจอว่าถูกหนูพุกมากัดกินข้าวในนาจนย่อยยับถึงขั้นขาดทุนนะครับ
นอกจากหนูที่อพยพจากฝั่งลาวเมื่อหลายปีก่อนครั้งนั้นครั้งเดียว

ถ้ามีหนูในนาอยู่บ้าง เหยี่ยวอีแหลว ก็จะไม่มาโฉบขโมยกินลูกไก่ครับ

มีอีกหลายแนวความคิดหลายมุมมองที่ผมมองข้ามไป ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่ามันคืออะไร ผมนำเสนอเฉพาะที่ผมเห็น
และคิดขึ้นมาได้เท่านั้น อาจจะขัดแย้งกับหลายๆ บทความ แต่ก็อย่างที่บอกแต่แรก ผมเล่าตามที่ผมเห็นเท่านั้นยังไม่มีการพิสูจน์ใดๆ

หม่อนดาหลาที่สวนพิณพลอยจ้า

Untitled-1

หม่อนดาหลาที่สวนพิณพลอยจ้า

มื้อนี้ขออนุญาตนำภาพสัตว์ชนิดหนึ่งที่แสนสวยงามเพิ่นมาสิงสถิตย์ยึดสวนพิณพลอยน้อยๆ เป็นที่อยู่อาศัยมาตั้งแต่ต้นปี 2555 เมื่อแรกพบอ้ายหำ อ้ายชายผู้ดูแลทรัพย์ศฤงคาร โทรศัทพ์บอกทาง ดร.ว่ามีหม่อนดาหลา ชิเมโจได๋ มาอยู่ที่สวนกะนึกภาพเพิ่นบ่ออก ว่าหน้าตาสิเป็นแนวใดอ้ายว่างามมาก งามมาก หาเบิ่งภาพตามเวปกะบ่คัก คั่นได้มาที่สวนกะเลยพ้อกัน นำภาพฝากพี่น้องเบิ่งแยงนำจ้า หม่อนดาหลาเป็นผีเสื้อขนาดใหญ่ เห็นว่าได้ชื่อนี้เพราะราวปี 2554 มาเกาะที่ ต้นดาหลาของศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ หนองคายทางศูนย์จึงนำมาศึกษาและมหาวิทยาลัยขอนแก่นในการจำแนกชนิดและทดลองนำรังไหมไปสาวเป็นเส้นด้วยเครื่องสาวไหม พบว่าสามารถสาวเป็นเส้นได้ดีมีแนวโน้มที่จะใช้เป็นประโยชน์จึงได้ขยายการเลี้ยงมากขึ้นแล้วนำไปทอเป็นผืนผ้าไหมดาหลาผืนแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2555 และจากการวิเคราะห์คุณสมบัติในห้องปฏิบัติการ โดย คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ เซ็นทรัล แล็บ ยังพบว่า เส้นไหมดาหลาที่ได้ยังเป็นเส้นใยธรรมชาติที่เหนียวที่สุดในโลก และมีกรดอะมิโนเป็นส่วนประกอบถึง 15 ชนิดที่สวนตอนนี้ก็ได้พยายามขยายพันธุ์เพิ่นเผื่อว่าในอนาคตสิได้ทดลอง ทอผ้าไหมจากหม่อนดาหลา

 

animalplanet

animalplanet 09




animalplanet 10




animalplanet

animalplanet 07




animalplanet 08




animalplanet

animalplanet 05




 

animalplanet 06




animalplanet

animalplanet 03




 

animalplanet 04




animalplanet

animalplanet 01




animalplanet 02




จูแมนจี้ เกมดูดโลกมหัศจรรย์

Untitled-1

 

เกมหมากรุกปลอดทั่วไปตื่นเต้น แต่เสน่ห์ที่สามารถนำเกมที่จะเดินทางผ่านเวลากลับไปยุคหินใหม่อีกครั้งในเวลาที่จะกลับไปที่ทันสมัยใด ๆ ค่าใช้จ่ายของผู้เข้าร่วมคือการออกจากจุดเริ่มต้นของเกมที่จะไปผ่านการเดินทางทั้ง

12 ปีอัลเลนและซาร่าห์เป็นครั้งคราวในโอกาสที่จะเข้าร่วมในครั้งนี้สิ่งที่หมากรุกเกมหมดหวัง, เหตุการณ์ที่แปลกประหลาดอัลเลนถูกยิงเข้าสู่โลกแห่งเวทมนตร์หายไปอย่างกะทันหัน หลังจาก 26 ปี, เด็กสองคนจูดี้และปีเตอร์ย้ายไปที่บ้านเก่าอัลเลน, อัลเลนตั้งใจปล่อยออกมาในโลกหมากรุก หมากรุกในสัตว์ที่เป็นต้นฉบับด้วยกันมาถึงโลกมนุษย์และจะทำลาย ที่จะช่วยโลกกลับมาเป็นซาร่าห์เสร็จสมบูรณ์เมื่อเกมยังไม่เสร็จของหมากรุก …

 

จูแมนจี้ เกมดูดโลกมหัศจรรย์ ได้เป็นอย่างดีในบ็อกซ์ออฟฟิศมันเอาใน $ 100,475,249 ในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดาและ $ 162,322,000 ต่างประเทศรวมไป $ 262,797,249. ภาพยนตร์ที่ได้รับชื่นชมจากนักวิจารณ์ที่มีความคิดเห็นมะเขือเทศรวบรวมรายงานว่า 50% จาก 32 นักวิจารณ์มืออาชีพได้ให้ฟิล์มทบทวนบวกกับค่าเฉลี่ยของการประเมินจาก 5.6 จาก 10. โพสต์ริติคการประเมินโดยเฉลี่ย 39% จาก 18 รีวิว.

 

1